เทคนิคการตรวจรับบ้านที่ดีคือขั้นตอนแรกในการเป็นเจ้าของบ้าน

  • By admin online
  • กุมภาพันธ์ 1, 2021
  • 0
  • 2999 Views
เทคนิคการตรวจรับบ้านที่ดีคือขั้นตอนแรกในการเป็นเจ้าของบ้าน maid-dee.com ขายบ้าน

เทคนิคการตรวจรับบ้านที่ดีคือขั้นตอนแรกในการเป็นเจ้าของบ้าน

การตรวจรับบ้านไม่ว่าจะเป็นการซื้อจากโครงการบ้านจัดสรร หรือคอนโนมิเนียม หรือจากการปลูกสร้างเองนั้น ผู้ที่ทำการตรวจสอบมีบริษัทรับเหมาตรวจรับบ้านโดยเฉพาะ แต่หากจะประหยัดค่าใช้จ่ายและเพื่อความสบายใจที่ได้เห็นเองกับตาแล้วหละก็ การตรวจรับบ้านทำได้ไม่ยากเลย แต่ต้องมีการเตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการตรวจรับบ้านด้วย ได้แก่ ผังแบบแปลนบ้าน / อุปกรณ์การจดรายละเอียด ไม้บรรทัด / อุปกรณ์ทดสอบระบบไฟฟ้า ไฟฉาย  / ถังน้ำใบเล็ก เศษผ้า ขนมปัง ลูกแก้ว เทปพันสายไฟ / กรรไกร คัตเตอร์ สิ่งเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการใช้ทดสอบระบบต่างๆ ภายในบ้านที่จะตรวจรับทั้งสิ้น

  • เทคนิคการตรวจรับบ้าน เพื่อดูแลบ้านตั้งแต่วันแรก

วิธีการตรวจรับบ้านที่ดีให้เริ่มจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน ชั้นหนึ่งไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ จะสะดวกที่สุดไม่ต้องวกไปวน จนงงเสียเอง ระบบที่ต้องตรวจรับประกอบไปด้วย

  • บริเวณรอบตัวบ้าน สำหรับบ้านที่มีพื้นที่ด้านนอก

ได้แก่ รั้วและประตูที่ต้องเปิดปิดสะดวก ไม่ตกราง การทาสีที่สม่ำเสมอ ไม่มีร่องรอยสนิมเกาะ กลอนประตูสามารถลงกลอนได้อย่างสะดวก รั้วบ้านไม่เอียง ไม่มีรอยร้าว ดินถมรอบบ้านไม่มีหลุมบ่อหรือเศษวัสดุก่อสร้างตกค้าง ระบบการระบายน้ำภายนอกที่น้ำควรมีทิศทางออกด้านนอกไม่ไหลกลับเข้าตัวบ้าน โดยตรวจสอบรางระบายน้ำฝนได้ด้วยการใช้ถังน้ำที่เตรียมมาบรรจุน้ำราดลงพื้นที่ต่างๆ รอบบ้าน รวมถึงตรวจสอบสิ่งที่ได้รับให้ตรงกับสัญญา เช่น การจัดสวน ปลูกต้นไม้ และปูหญ้า

  • โครงสร้างตามแปลนบ้าน

เราควรตรวจสอบทั้งความแข็งแรงและคุณภาพของโครงสร้างให้สามารถรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดีในระยะยาว โดยสำรวจทั้งรอยร้าว รูปร่างลักษณะของโครงสร้างที่ไม่งอ โค้ง เช่น เสา คาน รวมถึงการตรวจระดับพื้น ด้วยการกลิ้งลูกแก้วบนพื้นห้อง หากกลิ้งไปมาไร้ระเบียบหรือกลิ้งอย่างรวดเร็วไปที่มุมใดมุมหนึ่งแสดงว่าพื้นห้องมีปัญหาความลาดเอียงหรือพื้นไม่เสมอกัน พร้อมใช้ไฟฉายสำรวจและบันไดปีนขึ้นไปเหนือฝ้าเพดาน เพื่อตรวจสอบโครงฝ้าเพดาน

  • หลังคาถึงจะสูงแต่ก็ต้องตรวจสอบ

ถ้าไม่สามารถตรวจสอบปัญหาน้ำรั่วได้ ด้วยการฉีดน้ำใส่หลังคา เราสามารถสังเกตรอยน้ำรั่วได้ภายในบ้าน ซึ่งน้ำฝนอาจจะทิ้งร่องรอยคราบน้ำไว้ เช่น รอยด่างของสีที่ทาฝ้า ขอบฝ้าเพดาน โดยอาจจะใช้บันไดปีนขึ้นเหนือฝ้าเพดานชั้นบน เพื่อดูผิวหลังคาจากด้านในพร้อมกับตรวจสอบโครงสร้างหลังคาได้ รวมถึงการสำรวจกระเบื้องหลังคาที่มีตะปูยึดติดไว้อย่างแข็งแรง ฝ้าเพดานและสีทาฝ้าภายนอกเรียบร้อยสวยงาม

  • กำแพงส่วนต่างๆ ของบ้าน

เนื่องจากเป็นส่วนที่มีพื้นที่มากที่สุดในบ้าน ทำให้ใช้เวลาตรวจสอบนานที่สุด โดยควรใช้ดิ่งตั้งฉากตรวจสอบการก่อผนัง โดยใช้ไม้บรรทัดยาวทาบลงบนผิวฉาบปูน พร้อมพิจารณาคุณภาพของผิวปูนฉาบที่เรียบสม่ำเสมอ และไม่มีร่องรอยแตกร้าวจากโครงสร้าง รวมถึงการทาสีหรือผิวเคลือบบนพื้นต่างๆ และฝ้าที่แนบสนิทกับผนัง ได้ระดับเท่ากันทั่วห้อง

  • ฝ้าเพดานทั้งภายในและภายนอกบ้าน

การสำรวจควรดูให้ทั่วทั้งบริเวณชั้นล่าง ชั้นบน และฝ้าเพดานภายนอก ซึ่งควรดูให้ทั่่วบริเวณบ้าน พร้อมกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างด้วย ซึ่งเพดานที่ดีต้องเรียบได้ระดับเท่ากันทั้งห้อง และไม่เห็นร่องรอยยาแนวหรือไม่ปูดบวมออกมา รวมถึงการทาสีที่ใช้หลักเดียวกับการตรวจผนัง

บททิ้งท้าย นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ระบบไฟฟ้า ปะปา ต่างหน้า ประตู ฯลฯก็ต้องตรวจสอบเช่นกัน เช่นในการตรวจระบบปะปาบ้านที่มีการติดตั้งมิเตอร์แล้วสามารถตรวจสอบน้ำรั่วได้ง่ายขึ้น ด้วยการดูมิเตอร์น้ำ หากยังหมุนอยู่ในช่วงที่ไม่มีใครใช้น้ำ แสดงว่าเราอาจจะมีปัญหาน้ำรั่ว รวมถึงการตรวจสอบระบบน้ำทิ้งและระบบระบายน้ำ เช่น อ่างล้ามมือ อ่างอาบน้ำ อ่างล้างชาม รูระบายหลังบ้าน รูระบายระเบียง และรูระบายน้ำทิ้งในห้องน้ำ เป็นต้น

ซื้อ-ขายบ้าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *