การดูแลรักษาบ้านที่ดี เริ่มต้นจากหลังคาบ้านเป็นที่แรก
ในฤดูกาลต่างๆ จะเป็นการง่ายสำหรับคนทั่วไปหากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อาจจะใช้หมวกหรือร่มเพื่อกันแดดกันแสง หน้าฝนก็ยังมีร่ม เสื้อกันฝนช่วย หรือในหน้าหนาวก็มีเสื้อกันหนาวสวมใส่ ส่วนหน้าร้อนก็สามารถใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้น บางเบาได้ แต่สำหรับอาคารสถานที่ รวมถึงบ้าน ที่พักอาศัยนั้น มีเพียง “หลังคา” ที่ป้องกันทุกสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นปัญหาที่ต้องเรียนรู้ก็คือเราจะดูแลหลังคาบ้านอย่างไรให้สร้างครั้งเดียวใช้งานได้ทุกสภาพอากศและคุ้มผู้อยู่อาศัย วันนี้เรามาเรียนรู้กัน
สภาพหลังคาบ้านที่ดี คุ้มกันได้ทุกสภาพฤดูกาล
วิธีการดูแลรักษาหลังคาบ้านเบื้องต้น เพื่อให้หลังคาบ้านมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน ไม่เกิดรั่วซึม หรือผุพังก่อนเวลาอันควร อีกทั้งการเลือกใช้หลังคาบ้านด้านวัสดุที่ดี มีคุณภาพและถูกประเภทจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประหยัดพลังงานและระบายความร้อน ระบายอากาศได้ดีอีกด้วย หลังคาที่มีมวลสารน้อยช่วยให้ค่าการดูดซึมและสะสมความร้อนต่ำกว่าวัสดุที่มีความหนามากๆ ทำให้ถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารน้อยลง เช่น หลังคา ประเภทที่น้ำหนักเบา อย่างหลังคา Metal sheet, Shingles roof, สังกะสี เป็นต้น ดังนั้นปัจจุบันการเลือกวัสดุที่นำมาทำหลังคาบ้านจึงจะมองหาเฉพาะที่มีความหนาความแข็งแรกแบบสมัยดั่งเดิมไม่ได้แล้ว
รูปแบบหลังคาที่มีผลต่อการระบายความร้อน
อาคารที่มีลักษณะเป็นจั่วสูง หรืออาคารที่มีช่องว่างอากาศใต้หลังคา เปรียบเสมือนกับเป็นฉนวนความร้อนอยู่แล้วหากเพิ่มช่องทางในการระบายอากาศใต้หลังคา จะช่วยสร้างแรงกดกับอากาศ ด้านรับลมส่งผลทำให้อากาศในบ้าน หมุนเวียนดีขึ้น สำหรับบ้านสมัยใหม่ที่เน้นความเป็นโมเดิร์น ทางแก้ไขเมื่อไม่สามารถสร้างหลังคาแบบจั่วสูงได้คืแอการนำเอาแผ่นฉนวนกันความร้อน หรือแผ่นสะท้อนความร้อนมาประกอบติดกับแผ่นหลังหรือวางบนฝ้าใต้หลังคาเพื่อช่วยเรื่องของความร้อนนั่นเอง
การบำรุงรักษาและดูแลหลังคาบ้านที่ดี ทำได้ง่ายๆ
วิธีดูแลหลังคาบ้านให้ใช้งานได้นานไร้ปัญหารบกวน ไม่ต้องรอให้แตกให้รั่วแล้วถึงทำการซ่อมแซมใหญ่กันอีกต่อไป สามารถทำได้ดังนี้
- ตรวจเช็คว่าการปูกระเบื้องบนหลังคามีการวางระยะห่างระหว่างกระเบื้องต้องเท่ากันหรือไม่ หากพบว่ากระเบื้องหลังคามีการวางเหลื่อมทับซ้อนกันหรือชำรุด ต้องรีบแก้ไขโดยทันทีเพราะสภาพกระเบื้องที่ชำรุดหรือวางทับซ้อนเว้นระยะไม่เหมาะสมนำมาซึ่งปัญหาการรั่วซึมของน้ำ และตกลงหลุดจากหมุดยึดได้ง่ายเมื่อโดนลมแรงๆ
- ตรวจเช็คกระเบื้องหลังคาบ้านทุกแผ่นต้องไม่มีรอยแตกร้าวแม้เพียงเล็กน้อยก็มีไม่ได้ รอยร้าวเล็กๆอาจทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้และถ้าไม่แก้ไขรอยร้าวอาจจะเพิ่มมากขึ้นจนแตก
- ตรวจเช็คตัวครอบหลังคาที่ถูกยึดด้วยปูนต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงไม่แตกร้าว และหากอยู่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ ควรทำการตัดแต่งกิ่งไม้ให้ดีเพราะลมแรงอาจทำให้กิ่งไม้ปลิวไหวฟาดลงหลังคา และใบไม้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทางระบายน้ำหรือรางน้ำอุดดันได้ง่ายที่สุด
- ตรวจเช็คคราบต่างๆ บนหลังคา เช่น สภาพการก่อตัวของเชื้อราซึ่งส่งผลทำให้หลังคาดูเก่าหมองโดยเฉพาะหลังคาของบ้านที่อยู่ใกล้ตึกสูง หรือมีร่มไม้ปกปิดมากเกินไปจนทำให้แสงแดดส่อไม่ถึง
ทั้งหมดเป็นพื้นการดูแลสภาพหลังคาเบื้องต้นที่สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ช่างมืออาชีพแต่อย่างใด
บททิ้งท้ายก่อนไปสำรวจหลังบ้านตัวเอง
การตรวจเช็กหลังคาบ้านควรทำปีละอย่างน้อย 2 ครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการเปลี่ยนฤดูกาลเพื่อให้หลังคาอยู่ในสภาพที่ดี ลดปัญหาจุกจิกกวนใจต่างๆ ภายในบ้านได้อีกเยอะเลยทีเดียว